Wednesday, August 29, 2012

HAUTE COUTURE WEDDING DRESSES 2012/2013


Haute Couture” คือ อาภรณ์ชั้นสูงอันงามหรูที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจากจินตนาการอันบรรเจิดของดีไซเนอร์ชั้นนํา ผ่านฝีมือการตัดเย็บอันประณีตของช่างฝีมือชั้นเลิศ ที่ต้องอาศัยทักษะในการประกอบจินตนาการ สร้างภาพฝันที่ร่างเค้าโครงไว้บนแผ่นกระดาษให้กลายเป็นความจริงที่สวมใส่ได้อย่างงามสง่า และแน่นอนว่า ต้นกําเนิดของเสื้อผ้าแพรพรรณชั้นสูงนี้จะเป็นที่อื่นไปไม่ได้ นอกเสียจาก กรุงปารีส มหานครแห่งแฟชั่นที่เปรียบเสมือนสุภาพสตรีผู้ปรากฏโฉมต่อหน้าสาธารณชน ในเสื้อผ้าหน้าผมที่ดูดีไร้ที่ติ วันนี้เราจะนำทุกท่านเข้าสู่ดินแดนแห่งความฝัน กับชุดแต่งงานจากแบรนด์ชั้นนำระดับโลกปี 2012-2013 กันค่ะ

CHANEL Wedding dress

 JEAN PAUL GAULTIER Wedding dress

 CHRISTIAN DIOR Wedding dress

ATELIER VERSACE Wedding dress

 ULAYANA SERGEENKO Wedding dress

 CHRISTOPHE JOSSE Wedding dress

 ALEXIS MABILLE Wedding dress

 YINGYING YIN Wedding dress

 ELIE SAAB Wedding dress

ZUHAIR MURAD Wedding dress


Greek Style Wedding dresses


ว่าที่เจ้าสาวท่านใดที่กำลังมองหาชุดแต่งงานสไตล์เทพธิดากรีกโบราณ หรือ Grecian wedding dress วันนี้เรามีชุดรูปแบบนี้มาให้ชมกันค่ะ  ไม่ใช่แค่รูปแบบที่สวยงามเท่านั้น การใช้ผ้าลูกไม้ฝรั่งเศษ ผสมผสานกับมุก และคริสตัสชั้นดี ทำให้ชุดแต่งงานจากแบรนด์  Anna Campbell ดูสวยงาม และมีเสน่ห์น่าหลงใหลมากทีเดียว เรามาชมชุดสวยๆ กันค่ะ

























Thursday, August 23, 2012

วันที่ 7 เดือน 7 วันวาเลนไทน์ของจีน และ เทศกาลทานาบาตะของญี่ปุ่น


วันแห่งความรักของชาวจีน
เรื่อง เล่าอันเป็นที่รู้จักกันดีซึ่งเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้ เป็นเรื่องระหว่าง "คนเลี้ยงวัวและสาวทอผ้า” นานมาแล้ว มีเด็กชายกำพร้าคนหนึ่งอาศัยอยู่กับพี่ชายและพี่สะใภ้ เนื่องจากเขาช่วยพี่ชายเลี้ยงวัว ชาวบ้านจึง เรียกเขาว่า คนเลี้ยงวัว เมื่อคนเลี้ยงวัวโตเป็นหนุ่ม พี่ชายกับพี่สะใภ้ก็แบ่งสมบัติให้เขาเป็นวัว 1 ตัว กับคันไถ 1 อัน ดังนั้น เขาจึงถางป่าผืนหนึ่งบริเวณตีนเขา แล้วปักหลักใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นตามลำพัง วันหนึ่งคนเลี้ยงวัวก็ต้องแปลกใจเมื่อวัวที่เขาเลี้ยงพูดได้ มันพูดกับเขาว่า "จริง ๆ แล้วข้าก็คือดาววัวบนท้องฟ้า ข้าทำผิดกฏของฟ้า จึงถูกเนรเทศลงมาอยู่เมืองมนุษย์ ข้าว่าถึงเวลาที่เจ้าจะมีเมียกับเขาเสียที ตอนนี้เป็นโอกาสดีที่เจ้า จะพลาดไม่ได้ พรุ่งนี้เจ้าจะต้องเดินทางไปด้านหน้าของภูเขาแล้วเจ้าจะพบป่าแห่งหนึ่ง ด้านข้างของป่าจะมีทะเลสาบแห่งหนึ่ง จะมีผู้หญิงหลายคนเล่นน้ำอยู่ ให้เจ้าหยิบเสื้อผ้าของพวกนางชุดหนึ่งที่เป็นชุดสีแดงแล้วซ่อนตัวรอพบกับ เจ้าของชุดสีแดงที่ ค้นหาเสื้อผ้าอยู่ นางนั้นจะได้เป็นเมียของเจ้า ถ้าอยากมีเมียเจ้าจงอย่าลืมทำตามที่ข้าบอก พรุ่งนี้วันเดียวเท่านั้น" วันรุ่งขึ้น คนเลี้ยงวัวก็ทำตามที่วัวตัวนั้นบอก เขาได้พบกับนางที่เป็นเจ้าของชุดสีแดงและได้เล่าความเป็นมาของ เขาให้นางผู้นั้นฟัง นางก็เล่าความเป็นมาของนางให้เขาฟังว่า
" ข้าชื่อ สาวทอผ้า เป็นหลานสาวของพระแม่เจ้าบนสวรรค์ เมฆที่ท่านเห็นอยู่เป็นผลงานของข้าเอง พระแม่เจ้าให้ข้าทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่มีเวลาพัก ข้ารู้สึกเหมือนถูกคุมขัง คนทั่วไปคิดว่าข้างบนนั้นน่าอยู่ แต่ข้าไม่คิดเช่นนั้น ข้าไม่เคยมีอิสระ ไม่เคยเห็นเดือนเห็นตะวันกับเขา พอมีโอกาสข้าจึง ชวนพี่ ๆ น้อง ๆ หนีลงมาเที่ยวเมืองมนุษย์ โลกมนุษย์นี้ช่างสวยงามจริง ๆ " ชายเลี้ยงวัวจึงชวนสาวทอผ้าอยู่ด้วยกันและได้แต่งงานอยู่กินกันอย่างมีความ สุข

จนเวลาล่วงเลยมาได้ 7 ปี
ซึ่งเท่ากับ 7 วันในเมืองสวรรค์ และทั้งคู่มีลูก 2 คน ชาย-หญิง ฝ่ายพระแม่เจ้าบนสวรรค์เมื่อรู้เรื่องนี้เข้าจึงลงมาเมืองมนุษย์นำตัวสาวทอ ผ้ากลับขึ้นไปบนสวรรค์อีกครั้งหนึ่ง คนเลี้ยงวัวจึงพาลูกทั้งสองใส่หาบลงเรือแล้วเหาะไปบนเมฆตามพระแม่เจ้าและสาว ทอผ้าขึ้นไปบนสวรรค์โดยการช่วยเหลือ ของวัวพ่อสื่อเจ้าเก่า แต่ระหว่างทางพระแม่เจ้าได้เนรมิตทะเลกว้างที่มีคลื่นลูกใหญ่มาขวางกั้นไว้ แต่ด้วยความรักของคนเลี้ยงวัว กับสาวทอผ้าที่มีให้กันจึงบันดาลให้มีนกกระสานับพันตัวรวมตัวกันจนเป็นสะพาน นกกระสาวาดเป็นเส้นโค้งข้ามทะเลนั้นไปได้ พระแม่เจ้าเห็นแก่ความรักของทั้งสองจึงยอมให้ทั้งคู่พบกันได้ทุกวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี นับตั้งแต่นั้นมา ทุกวันที่ 7 เดือน 7 ชาวจีนจะสวดมนต์อ้อนวอนขอพรจากคนเลี้ยงวัว และสาวทอผ้าเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตของตน


และมารู้จักกับ เทศกาล "ทานาบาตะ" แห่งแดนอาทิตย์อุทัย

ประวัติ
เทศกาล ทานาบาตะมีต้นกำเนิดจากเทศกาล "ราตรีแห่งเลขเจ็ด" ที่เฉลิมฉลองกันในเมืองจีน ราชสำนักญี่ปุ่นแห่งเกียวโตรับเข้ามาในสมัยเฮอัน (พ.ศ.1337-1728) ก่อนที่จะเผยแพร่ไปในหมู่ชาวบ้านช่วงในยุคเอโดะตอนต้น (ยุคเอโดะเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2246 ตรงกับช่วงราชวงศ์บ้านพลูหลวงของสยาม) จากนั้นก็เทศกาลนี้ก็เริ่มเข้ามาผสมผสานกับประเพณี "โอบง" (お盆) ซึ่งเป็นประเพณีการเคารพวิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วของชาวพุทธใน ญี่ปุ่น เนื่องจากประเพณีโอบงเดิมนั้นมีขึ้นในวันที่ 15 ของเดือน 7 ซึ่งใกล้กันกับเทศกาลทานาบาตะที่ตรงกับวันที่ 7 เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติของญี่ปุ่น ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนจากปฏิทินจีน 1-2 วันเท่านั้น

ในช่วงยุคเอโดะนั้น เหล่าเด็กหญิงจะขอพรให้ตนมีทักษะเย็บปักถักร้อยดีขึ้น ส่วนเด็กชายจะพากันขอให้ตนมีทักษะเขียนได้ดีขึ้นโดยเขียนขอพรไว้บนแถบกระดาษ ซึ่งจะใช้น้ำค้างกับใบต้นเผือกมาทำหมึกสำหรับเขียนขอพร ต่อมา เมื่อญี่ปุ่นหันมาใช้ปฏิทินแบบเกรกอเรียน (ปฏิทินสากลในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นปฏิทินสุริยคติที่อ้างอิงตามดวงอาทิตย์ ทำให้ประเพณี"โอบง"จัดกันในวันที่ 15 สิงหาคมกันเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้มีการกลับมาจัดเทศกาลทานาบาตะ และประเพณีโอบงแยกกัน ตัวอักษรจีน  七夕 ของเทศกาล"ราตรีแห่งเลขเจ็ด" เมื่ออ่านแบบญี่ปุ่นจะได้ว่า "ชิชิเซกิ" (Shichiseki - しちせき)  เชื่อกันว่าพิธีชำระล้างให้บริสุทธิ์ของลัทธิชินโตจะมีขึ้นในช่วงนี้พอดี ซึ่งมิโกะ (นักบวชหญิงของลัทธิชินโต) จะสวมชุดพิเศษที่เรียกว่า "ทานาบาตะ" (棚機/たなばた) เพื่อขอพรให้สวรรค์ปกป้องคุ้มครองพืชผลจากสายฝนหรือพายุ และขอให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตดีในช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่จะมาถึง

พิธีของชินโตนี้ได้ค่อยๆรวมผสานกับเทศกาล "ราตรีแห่งเลขเจ็ด" ที่ญี่ปุ่นได้รับมาจากจีน จนกลายเป็นเทศกาล"ทานาบาตะ" นี้ครับ


ตำนานแห่งเทศกาลทานาบาตะ
ตำนาน รักหนุ่มเลี้ยงสัตว์และสาวทอผ้าของญี่ปุ่น จะใกล้เคียงกันกับตำนานต้นตำรับทางฝั่งจีน กับตำนานฝั่งเกาหลี มีเนื้อเรื่องอยู่ว่า "โอริฮิเมะ" (織姫 - เจ้าหญิงทอผ้า) เป็นธิดาของเทพ "เทนเทย์" (天帝 - จักรพรรดิผู้ปกครองสวรรค์) มีหน้าที่ถักทอผืนผ้าอันงดงาม ณ ริมฝั่งแม่น้ำ "อามาโนะกาวะ" (天の川 - แม่น้ำแห่งสวรรค์ หมายถึงทางช้างเผือก) เทพเทนเทย์หลงใหลในผ้าที่ลูกสาวของตนทอเป็นอย่างมาก ทำให้นางต้องทำงานหนักทุกๆวัน

โอริฮิเมะจึงหดหู่มาเพราะจากการทำงาน หนักนี้ ทำให้นางไม่ได้พบพานและมีความรักกับใครสักคนเลย เทพเทนเทย์ก็เลยกังวลเรื่องของลูกสาว เลยเป็นพ่อสื่อแนะนำให้ลูกสาวได้รู้จักกับ "ฮิโคโบชิ" (彦星) หนุ่มเลี้ยงสัตว์ซึ่งทำงานอยู่อีกฝั่งของสายน้ำอามาโนะกาวะ เมื่อทั้งคู่เจอกันก็ตกหลุมรักและตกลงปลงใจแต่งงานกันอย่างรวดเร็ว

เมื่อ ทั้งคู่แต่งงานแล้ว โอริฮิเมะก็เริ่มไม่ค่อยได้ทอผ้าให้แก่บิดาของตน ฮิโคโบชิก็เริ่มละเลยงานจนวัวของเขาเพ่นพ่านไปทั่วสวรรค์  เมื่อเทนเทย์ทราบเข้าก็โกรธ เลยจับแยกคู่รักทั้งสองไว้คนละฝั่งของสายน้ำอามาโนะกาวะ และไม่อนุญาตให้ทั้งคู่ได้พบกันอีกเลย โอริฮิเมะที่พลัดพรากจากสามีก็โศกเศร้ามาก นางอ้อนวอนขอร้องให้บิดาของนางอนุญาตให้เธอพบกับฮิโคโบชิอีกครั้ง

เท นเทย์เลยเริ่มใจอ่อน จึงยอมให้ทั้งคู่มาเจอกันได้ในวันที่ 7 เดือน 7 ถ้าโอริฮิเมะทอผ้าเสร็จสิ้นลง เมื่อทั้งคู่จะมาพบกัน ต่างฝ่ายก็ไม่สามารถมาเจอกันได้เพราะไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำนี้ โอริฮิเมะก็ร้องไห้ จนเหล่านกกระสาต่างสงสารและพากันบินมาเกาะกลุ่มกันเป็นสะพานให้โอริฮิเมะได้ ก้าวข้ามไปบนปีกของพวกตน ถ้าเกิดฝนตกลงมาในค่ำคืนเทศกาลทานาบาตะ ฝูงนกกระสาจะไม่สามารถบินมายังแม่น้ำอามาโนะกาวะได้ โอริฮิเมะกับฮิโคโบชิจะต้องเฝ้ารอแต่ละฝ่ายจนกว่าจะถึงปีถัดไป

ธรรมเนียม
สำหรับ ญี่ปุ่นยุคปัจจุบันแล้ว ชาวญี่ปุ่นจะฉลองเทศกาลนี้ด้วยการเขียนถึงความหวังของตน บางครั้งก็เขียนเป็นกลอนลงบน"ทันซากุ" (短冊) ซึ่งเป็นแถบกระดาษเล็กๆ แล้วนำไปห้อยกับต้นไผ่ ที่บางครั้งก็เอาอย่างอื่นมาประดับตกแต่งต้นไผ่ไปด้วย ของประดับต้นไผ่นี้จะนำมาลอยในแม่น้ำ หรือเอามาเผาหลังจบเทศกาลนี้ ซึ่งมักเป็นช่วงเที่ยงคืนหรือในวันถัดไป


ที่มา : wikipedia

Monday, August 20, 2012

Save the Date!!


คุณคงเศร้าใจไม่น้อย หากคุณเตรียมงานแต่งงานของคุณเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นฤกษ์แต่งงาน สถานที่จัดงาน ถ่ายภาพพรีเวดดิ้ง เลือกชุดงานแบบไหน หรือธีมงานแต่งงานอย่างไร และพร้อมจัดทำการ์ดแต่งงานทีต้องใส่รายละเอียดทั้งหมด กว่าจะเตรียมการทุกอย่างเสร็จสิ้น และมีเวลาแจกการ์ดแต่งงานด้วยตนเองก็ใกล้จะถึงกำหนดวันจัดงานเต็มที  แต่คุณต้องพบว่าเพื่อนสนิทของคุณหลายคน ไม่สามารถมาร่วมงานแต่งงานที่มีเพียงครั้งเดียวในชีวิตของคุณได้ เพราะอาจติดงาน หรือภารกิจที่สำคัญที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว คุณคงรู้สึกเสียใจ และเพื่อนสนิทของคุณก็คงรู้สึกเสียใจเช่นกัน เรื่องเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน หากคุณมีการเตรียมการที่ดี แค่แจ้งเพื่อนสนิท และแขกของคุณไว้ล่วงหน้า ด้วยวิธี Save the Date ล็อควันและเวลาเอาไว้ จะได้ไม่พลาด เรียกว่าจองคิวไว้ก่อนเลย ไม่มีงานอื่นมาแทรกแน่นอน โดยเฉพาะสำหรับแขกที่จะต้องเดินทางมาจากต่างจังหวัด หรือ ต่างประเทศ เพื่อมาร่วมงานแต่งงานของเรา ซึ่งต้องใช้เวลาวางแผนการเดินทางล่วงหน้าเป็นเดือนๆ Save the date นี่แหละ  ทางออกที่ดีสำหรับคุณ โดยเราสามารถส่ง Save the date ให้แขก เหรื่อล่วงหน้าก่อนวันงานเป็นเดือนๆ หรือหลังจากได้ฤกษ์แต่งงานแล้ว ไม่ต้องกลัวว่าจะเร็วเกินไป เพราะเป็นแค่การแจ้งให้ทราบเท่านั้น ว่าเราจะจัดงานแต่งงานในวันที่แจ้งมา งานแต่งงานเพื่อนสนิทคนสำคัญทั้งที่ไม่มาไม่ได้แล้ว ใช่ไหมละค่ะ ^^


ไม่ว่าจะเป็น Save the Date Card , E-mail หรือ SMS แค่ใส่รายละเอียดวันจัดงานแต่งงานของคุณ พร้อมข้อความน่ารักๆ เช่น เราหวังว่าคุณจะมาร่วมงานแต่งงานของเรา Tee & Rak 8.18.2012
ง่ายๆ แค่นี้คุณก็ไม่ต้องกังวลกับเรื่องนี้อีกต่อไป หันไปตั้งหน้าตั้งตาเตรียมงานแต่งงานของคุณให้ออกมาดูดีที่สุด และรอรับแขกของคุณได้เลย เพราะทุกคนกำลังกังวลเรื่องตัดชุด และเลือกชุดมาร่วมงานแต่งงานของคุณ อยู่แน่เลยค่ะ …^_^



ไอเดียดีๆ แบบนี้ ที่รักสตุดิโอของเราไม่พลาดที่จะนำ Save the Date SMS ที่ง่าย และสะดวกรวดเร็ว มาให้บริการลูกค้าคนสำคัญของเราแน่นอนค่ะ 
บริการดีๆ จากที่รักสตูดิโอ Wedding SMS ส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อแขกคนสำคัญของคุณ เพียงแค่ส่งข้อมูล และเบอร์โทรศัพท์แขกของคุณให้กับเราผ่านหน้าเว็บไซน์ของที่รักสตูดิโอ http://www.teerak-studio.com/weddingsms.htm
เพียงเท่านี้ข้อมูลวันแต่งงานพร้อมสถานที่จัดงานของคุณก็จะถูกส่งให้แขกของคุณทุกคน เพื่อล็อควันเวลาเอาไว้ทันทีค่ะ