Thursday, August 23, 2012

วันที่ 7 เดือน 7 วันวาเลนไทน์ของจีน และ เทศกาลทานาบาตะของญี่ปุ่น


วันแห่งความรักของชาวจีน
เรื่อง เล่าอันเป็นที่รู้จักกันดีซึ่งเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้ เป็นเรื่องระหว่าง "คนเลี้ยงวัวและสาวทอผ้า” นานมาแล้ว มีเด็กชายกำพร้าคนหนึ่งอาศัยอยู่กับพี่ชายและพี่สะใภ้ เนื่องจากเขาช่วยพี่ชายเลี้ยงวัว ชาวบ้านจึง เรียกเขาว่า คนเลี้ยงวัว เมื่อคนเลี้ยงวัวโตเป็นหนุ่ม พี่ชายกับพี่สะใภ้ก็แบ่งสมบัติให้เขาเป็นวัว 1 ตัว กับคันไถ 1 อัน ดังนั้น เขาจึงถางป่าผืนหนึ่งบริเวณตีนเขา แล้วปักหลักใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นตามลำพัง วันหนึ่งคนเลี้ยงวัวก็ต้องแปลกใจเมื่อวัวที่เขาเลี้ยงพูดได้ มันพูดกับเขาว่า "จริง ๆ แล้วข้าก็คือดาววัวบนท้องฟ้า ข้าทำผิดกฏของฟ้า จึงถูกเนรเทศลงมาอยู่เมืองมนุษย์ ข้าว่าถึงเวลาที่เจ้าจะมีเมียกับเขาเสียที ตอนนี้เป็นโอกาสดีที่เจ้า จะพลาดไม่ได้ พรุ่งนี้เจ้าจะต้องเดินทางไปด้านหน้าของภูเขาแล้วเจ้าจะพบป่าแห่งหนึ่ง ด้านข้างของป่าจะมีทะเลสาบแห่งหนึ่ง จะมีผู้หญิงหลายคนเล่นน้ำอยู่ ให้เจ้าหยิบเสื้อผ้าของพวกนางชุดหนึ่งที่เป็นชุดสีแดงแล้วซ่อนตัวรอพบกับ เจ้าของชุดสีแดงที่ ค้นหาเสื้อผ้าอยู่ นางนั้นจะได้เป็นเมียของเจ้า ถ้าอยากมีเมียเจ้าจงอย่าลืมทำตามที่ข้าบอก พรุ่งนี้วันเดียวเท่านั้น" วันรุ่งขึ้น คนเลี้ยงวัวก็ทำตามที่วัวตัวนั้นบอก เขาได้พบกับนางที่เป็นเจ้าของชุดสีแดงและได้เล่าความเป็นมาของ เขาให้นางผู้นั้นฟัง นางก็เล่าความเป็นมาของนางให้เขาฟังว่า
" ข้าชื่อ สาวทอผ้า เป็นหลานสาวของพระแม่เจ้าบนสวรรค์ เมฆที่ท่านเห็นอยู่เป็นผลงานของข้าเอง พระแม่เจ้าให้ข้าทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่มีเวลาพัก ข้ารู้สึกเหมือนถูกคุมขัง คนทั่วไปคิดว่าข้างบนนั้นน่าอยู่ แต่ข้าไม่คิดเช่นนั้น ข้าไม่เคยมีอิสระ ไม่เคยเห็นเดือนเห็นตะวันกับเขา พอมีโอกาสข้าจึง ชวนพี่ ๆ น้อง ๆ หนีลงมาเที่ยวเมืองมนุษย์ โลกมนุษย์นี้ช่างสวยงามจริง ๆ " ชายเลี้ยงวัวจึงชวนสาวทอผ้าอยู่ด้วยกันและได้แต่งงานอยู่กินกันอย่างมีความ สุข

จนเวลาล่วงเลยมาได้ 7 ปี
ซึ่งเท่ากับ 7 วันในเมืองสวรรค์ และทั้งคู่มีลูก 2 คน ชาย-หญิง ฝ่ายพระแม่เจ้าบนสวรรค์เมื่อรู้เรื่องนี้เข้าจึงลงมาเมืองมนุษย์นำตัวสาวทอ ผ้ากลับขึ้นไปบนสวรรค์อีกครั้งหนึ่ง คนเลี้ยงวัวจึงพาลูกทั้งสองใส่หาบลงเรือแล้วเหาะไปบนเมฆตามพระแม่เจ้าและสาว ทอผ้าขึ้นไปบนสวรรค์โดยการช่วยเหลือ ของวัวพ่อสื่อเจ้าเก่า แต่ระหว่างทางพระแม่เจ้าได้เนรมิตทะเลกว้างที่มีคลื่นลูกใหญ่มาขวางกั้นไว้ แต่ด้วยความรักของคนเลี้ยงวัว กับสาวทอผ้าที่มีให้กันจึงบันดาลให้มีนกกระสานับพันตัวรวมตัวกันจนเป็นสะพาน นกกระสาวาดเป็นเส้นโค้งข้ามทะเลนั้นไปได้ พระแม่เจ้าเห็นแก่ความรักของทั้งสองจึงยอมให้ทั้งคู่พบกันได้ทุกวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี นับตั้งแต่นั้นมา ทุกวันที่ 7 เดือน 7 ชาวจีนจะสวดมนต์อ้อนวอนขอพรจากคนเลี้ยงวัว และสาวทอผ้าเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตของตน


และมารู้จักกับ เทศกาล "ทานาบาตะ" แห่งแดนอาทิตย์อุทัย

ประวัติ
เทศกาล ทานาบาตะมีต้นกำเนิดจากเทศกาล "ราตรีแห่งเลขเจ็ด" ที่เฉลิมฉลองกันในเมืองจีน ราชสำนักญี่ปุ่นแห่งเกียวโตรับเข้ามาในสมัยเฮอัน (พ.ศ.1337-1728) ก่อนที่จะเผยแพร่ไปในหมู่ชาวบ้านช่วงในยุคเอโดะตอนต้น (ยุคเอโดะเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2246 ตรงกับช่วงราชวงศ์บ้านพลูหลวงของสยาม) จากนั้นก็เทศกาลนี้ก็เริ่มเข้ามาผสมผสานกับประเพณี "โอบง" (お盆) ซึ่งเป็นประเพณีการเคารพวิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วของชาวพุทธใน ญี่ปุ่น เนื่องจากประเพณีโอบงเดิมนั้นมีขึ้นในวันที่ 15 ของเดือน 7 ซึ่งใกล้กันกับเทศกาลทานาบาตะที่ตรงกับวันที่ 7 เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติของญี่ปุ่น ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนจากปฏิทินจีน 1-2 วันเท่านั้น

ในช่วงยุคเอโดะนั้น เหล่าเด็กหญิงจะขอพรให้ตนมีทักษะเย็บปักถักร้อยดีขึ้น ส่วนเด็กชายจะพากันขอให้ตนมีทักษะเขียนได้ดีขึ้นโดยเขียนขอพรไว้บนแถบกระดาษ ซึ่งจะใช้น้ำค้างกับใบต้นเผือกมาทำหมึกสำหรับเขียนขอพร ต่อมา เมื่อญี่ปุ่นหันมาใช้ปฏิทินแบบเกรกอเรียน (ปฏิทินสากลในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นปฏิทินสุริยคติที่อ้างอิงตามดวงอาทิตย์ ทำให้ประเพณี"โอบง"จัดกันในวันที่ 15 สิงหาคมกันเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้มีการกลับมาจัดเทศกาลทานาบาตะ และประเพณีโอบงแยกกัน ตัวอักษรจีน  七夕 ของเทศกาล"ราตรีแห่งเลขเจ็ด" เมื่ออ่านแบบญี่ปุ่นจะได้ว่า "ชิชิเซกิ" (Shichiseki - しちせき)  เชื่อกันว่าพิธีชำระล้างให้บริสุทธิ์ของลัทธิชินโตจะมีขึ้นในช่วงนี้พอดี ซึ่งมิโกะ (นักบวชหญิงของลัทธิชินโต) จะสวมชุดพิเศษที่เรียกว่า "ทานาบาตะ" (棚機/たなばた) เพื่อขอพรให้สวรรค์ปกป้องคุ้มครองพืชผลจากสายฝนหรือพายุ และขอให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตดีในช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่จะมาถึง

พิธีของชินโตนี้ได้ค่อยๆรวมผสานกับเทศกาล "ราตรีแห่งเลขเจ็ด" ที่ญี่ปุ่นได้รับมาจากจีน จนกลายเป็นเทศกาล"ทานาบาตะ" นี้ครับ


ตำนานแห่งเทศกาลทานาบาตะ
ตำนาน รักหนุ่มเลี้ยงสัตว์และสาวทอผ้าของญี่ปุ่น จะใกล้เคียงกันกับตำนานต้นตำรับทางฝั่งจีน กับตำนานฝั่งเกาหลี มีเนื้อเรื่องอยู่ว่า "โอริฮิเมะ" (織姫 - เจ้าหญิงทอผ้า) เป็นธิดาของเทพ "เทนเทย์" (天帝 - จักรพรรดิผู้ปกครองสวรรค์) มีหน้าที่ถักทอผืนผ้าอันงดงาม ณ ริมฝั่งแม่น้ำ "อามาโนะกาวะ" (天の川 - แม่น้ำแห่งสวรรค์ หมายถึงทางช้างเผือก) เทพเทนเทย์หลงใหลในผ้าที่ลูกสาวของตนทอเป็นอย่างมาก ทำให้นางต้องทำงานหนักทุกๆวัน

โอริฮิเมะจึงหดหู่มาเพราะจากการทำงาน หนักนี้ ทำให้นางไม่ได้พบพานและมีความรักกับใครสักคนเลย เทพเทนเทย์ก็เลยกังวลเรื่องของลูกสาว เลยเป็นพ่อสื่อแนะนำให้ลูกสาวได้รู้จักกับ "ฮิโคโบชิ" (彦星) หนุ่มเลี้ยงสัตว์ซึ่งทำงานอยู่อีกฝั่งของสายน้ำอามาโนะกาวะ เมื่อทั้งคู่เจอกันก็ตกหลุมรักและตกลงปลงใจแต่งงานกันอย่างรวดเร็ว

เมื่อ ทั้งคู่แต่งงานแล้ว โอริฮิเมะก็เริ่มไม่ค่อยได้ทอผ้าให้แก่บิดาของตน ฮิโคโบชิก็เริ่มละเลยงานจนวัวของเขาเพ่นพ่านไปทั่วสวรรค์  เมื่อเทนเทย์ทราบเข้าก็โกรธ เลยจับแยกคู่รักทั้งสองไว้คนละฝั่งของสายน้ำอามาโนะกาวะ และไม่อนุญาตให้ทั้งคู่ได้พบกันอีกเลย โอริฮิเมะที่พลัดพรากจากสามีก็โศกเศร้ามาก นางอ้อนวอนขอร้องให้บิดาของนางอนุญาตให้เธอพบกับฮิโคโบชิอีกครั้ง

เท นเทย์เลยเริ่มใจอ่อน จึงยอมให้ทั้งคู่มาเจอกันได้ในวันที่ 7 เดือน 7 ถ้าโอริฮิเมะทอผ้าเสร็จสิ้นลง เมื่อทั้งคู่จะมาพบกัน ต่างฝ่ายก็ไม่สามารถมาเจอกันได้เพราะไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำนี้ โอริฮิเมะก็ร้องไห้ จนเหล่านกกระสาต่างสงสารและพากันบินมาเกาะกลุ่มกันเป็นสะพานให้โอริฮิเมะได้ ก้าวข้ามไปบนปีกของพวกตน ถ้าเกิดฝนตกลงมาในค่ำคืนเทศกาลทานาบาตะ ฝูงนกกระสาจะไม่สามารถบินมายังแม่น้ำอามาโนะกาวะได้ โอริฮิเมะกับฮิโคโบชิจะต้องเฝ้ารอแต่ละฝ่ายจนกว่าจะถึงปีถัดไป

ธรรมเนียม
สำหรับ ญี่ปุ่นยุคปัจจุบันแล้ว ชาวญี่ปุ่นจะฉลองเทศกาลนี้ด้วยการเขียนถึงความหวังของตน บางครั้งก็เขียนเป็นกลอนลงบน"ทันซากุ" (短冊) ซึ่งเป็นแถบกระดาษเล็กๆ แล้วนำไปห้อยกับต้นไผ่ ที่บางครั้งก็เอาอย่างอื่นมาประดับตกแต่งต้นไผ่ไปด้วย ของประดับต้นไผ่นี้จะนำมาลอยในแม่น้ำ หรือเอามาเผาหลังจบเทศกาลนี้ ซึ่งมักเป็นช่วงเที่ยงคืนหรือในวันถัดไป


ที่มา : wikipedia