Wednesday, April 4, 2012

หลักสำคัญในการวางแผนเลือกซื้อ “เพชร”


แหวนหมั้นเพชรนั้นเป็นประเพณีนิยม ด้วยความเชื่อที่ว่า เพชร เป็นอัญมณีที่มีค่าสูงสุด เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความรัก และแสดงให้เห็นถึงคุณค่าที่ว่าที่เจ้าบ่าวมอบให้กับเจ้าสาวของเขา การเลือกซื้อแหวนหมั้นเพชรนั้นควรมีการปรึกษาร่วมกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ได้แหวนวงที่พิเศษสุ ที่เป็นตัวแทนแห่งความรักนิรันดร์สำหรับเราสองคน


หลักสำคัญในการวางแผนเลือกซื้อ เพชร

1. ตั้งงบประมาณหลัก
งานนี้คงต้องเป็นภาระของคุณผ้ชายเป็นหลักที่จะต้องมีงบประมาณในการแต่งงานไว้ในใจแล้ว ตั้งแต่วันที่คิดจะแต่งงาน คุณต้องทำการจัดสรรงบนั้นออกเป็นส่วน ๆ ให้ชัดเจน อาจแบ่งงบออกเป็น เงินสินสอด ค่าแหวนหมั้น ค่าของหมั้นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทองคำแท่ง หรือสร้อยเพชรต่างหูเพชร เมื่อทราบแล้วว่ามีงบเท่าไหร่สำหรับแหวนหมั้น ก็พร้อมแล้วสำหรับขั้นตอนต่อไป

2. ออกสำรวจ
เพชรของแต่ละร้านมีคุณภาพและราคาแตกต่างกันไป แต่สำหรับเพชรที่มีมาตรฐานเดียวกัน จะมีราคาใกล้เคียงกัน คุณควรตระเวนดูเพชรตามร้านเพชรต่าง ๆ เพื่อทำการเทียบราคาเพชรและดูแบบที่ชอบ ถ้ามีเวลาแนะนำให้เลือกเพชรเป็นเม็ด แล้วสั่งทำตัวเรือนโดยเฉพาะเพื่อที่คุณจะได้เลือกเพชรเม็ดที่ชอบที่สุด ได้เลือกตัวเรือนแบบที่ถูกใจ และได้ขนาดแหวนที่พอดีกับนิ้วคุณมากที่สุด ซึ่งการสั่งทำตัวเรือนนั้นกินเวลาเพียงแค่ 1 เดือนเท่านั้น

3. เลือกเพชร
การซื้อเพชรถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะมูลค่าของมันมีแต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ยิ่งเป็นเพชรของขวัญแต่งงานแล้ว ยิ่งมีคุณค่าทางใจมากเข้าไปอีก ดังนั้น คุณจึงควรใส่ใจเรื่องการเลือกเพชรให้มาก เพื่อที่คุณจะได้เป็นเจ้าของอัญมณีล้ำค่านี้ อย่างมีความสุขที่สุด โดยขอใบรับประกันทุกครั้ง สำหรับการเลือกซื้อหลักการเลือกเพชรนั้นยึดตาม คุณลักษณะสำคัญ 4 ประการ หรือที่รู้จักกันว่า หลัก 4Cs อันได้แก่

สี (color)
เพชรสีที่นิยมมากที่สุด คือ สีขาว อย่างไรก็ดีในเพชรสีขาวก็ยังมีการจำแนกระดับความขาวออกเป็นระดับต่าง ๆ ถึง 20 ระดับ เพื่อแบ่งเกรดเพชร และมีผลต่อราคา โดยเริ่มจาก D ไปจนถึง Z โดยระดับ D คือ ระดับสีเพชรที่ไร้สี และมีมูลค่าสูงที่สุด

Color (สี)

เพชรจะมีสีธรรมชาติหลากหลายเฉดมีตั้งแต่ขาวใสไร้สีซึ่งหายากและมีค่าที่สุดไปถึงสีเหลืองจางๆ โดยมีเฉดสีอ่อนแก่ระหว่างกลางมากมายเพชรยิ่งมีสีน้อยเท่าไรยิ่งอำนวยให้แสงสีขาวสามารถวิ่งผ่านเนื้อภายในได้สะดวกและจะสะท้อนประกายไฟสีรุ้งบนผิวหน้าเพชรได้สวยงามมากขึ้นเท่านั้น

ฉะนั้นการแยกสีเพชรสีขาวกับเพชรที่ติดเหลืองเล็กน้อยซึ่งมีผลกระทบต่อราคา ทางสถาบัน GIA จึงได้กำหนดมาตรฐานการเทียบสีเพชรไว้ ซึ่งการเทียบสีเพชรโดยสายตามนุษย์ไม่สามารถแยกความละเอียดสีขาวและสีขาวติดเหลืองเล็กน้อยออกมากได้ จึงต้องเทียบสีกับ Master Stone โดยนักอัญมณีศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น



จาก Scale จะพบว่าสีจะเรียบลำดับจากสี D ไปจนถึง Z โดยแบ่งเฉดสีตามช่วงดังนี้
D-F Colorless (ขาวบริสุทธิ์)
G-J Near Colorless (ขาวติดเหลืองจางมากๆ)
K-M Faint Yellow (ขาวติดเหลืองจางๆ)


การเจียระไน (Cutting)
ประกายเพชรระยิบระยับที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากฝีมือการเจียระไนของช่างผู้เชี่ยวชาญการเจียระไนเพชรยังก่อให้เกิดรูปทรงเพชรที่แตกต่างกันไป ซึ่งรูปทรงเพชรก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดราคาเพชรเช่นกัน โดยทรงกลม และทรงหัวใจจะมีราคาสูงสุดตามลำดับ

   Cut (การเจียระไน)

มีหลายคนเข้าใจสับสน ระหว่างการเจียระไนกับรูปทรงของเพชรอันที่
จริงการเจียระไนเพชรจะหมายถึงการจัดวางหน้าเหลี่ยมต่างๆของเพชร 
ดังนั้นเมื่อกล่าวว่าเพชรเจียระไนดี ไม่ว่าจะเป็นรูปใดจะหมายถึงฝีมือ
การเจียระไนเหลี่ยมที่ถูกต้องได้สัดส่วนของช่างเจียระไนฝีมือเอก 
ทั้งนี้เพราะเพชรที่เจียระไนดีจะมีการเล่นแสงได้อย่างแพรวพราว
ระยิบระยับจับตาและทวีค่ายิ่งขึ้น และทำให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจ
ฉะนั้นการเจียระไนเพชรที่ได้สัดส่วนที่ดีจึงมีความสำคัญมาก
 

การเจียระไนเพชรมีรูปแบบต่างๆกัน แต่โดยทั่วไปเพชรจะนิยมเจียระไนเป็นรูปทรงกลม เพชรทรงกลมมักนิยม
เจียระไนเป็นเหลี่ยม Round Brilliant Cut หรือเหลี่ยมเกสร เนื่องจากเพชรที่เจียระไนแบบนี้จะมีการกระจายแสงที่
สมบูรณ์แบบมาก โดยมีเหลี่ยมมากถึง 58 เหลี่ยมต่อเพชรหนึ่งเม็ด

ในการพิจารณาว่าเพชรเม็ดนั้นเจียระไนดีหรือไม่นั้นต้องพิจารณาจาก 3 องค์ประกอบ
1. ขนาดเทเบิล(Table Size) ที่ใหญ่หรือเล็กเกินไปจะมีผลต่อการกระจายแสงของเพชร

2. มุมคราวน์(Crown Height) ที่มีความสูงไม่สมดุลกับมุมสะท้อนแสงจะมีส่วนทำให้การกระจายแสงลดน้อย

 
3. ความลึกพาวิเลี่ยน(Pavilion Dept) ที่มีการเจียระไนที่ดี แสงจะสะท้อนขึ้นทุกมุม ทำให้การกระจายแสงดี แต่ถ้า
เจียระไนบางเกินไปแสงจะทะลุออกด้านล่างหรือถ้าเจียระไนหนาเกินไปจะทำให้ไม่มีแสงสะท้อนทำให้เพชรจะดูมืด 

(Nail Head)


ซึ่งค่าทั้งหมดจะถูกตรวจสอบโดยนักอัญมณีศาสตร์และบันทึกผลที่ได้ลงใน Certificates ซึ่งผลที่ได้ทั้งหมดจะ
นำมาสรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายต่อบุคคลทั่วไป โดยจะเรียงลำดับจาก เจียระไนดีมาก (Very Good), 
เจียระไนดี(Good), เจียระไนพอใช้(Fair) 


ความบริสุทธิ์ (Clarity)
เพชรทุกเม็ดมีตำหนิอันเป็นร่องรอยจากธรรมชาติซึ่งอาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือต้องมองผ่านกล้องขยายกำลังสูงเท่านั้น เพชรบริสุทธิ์ไร้ที่ติจะพบได้ยากมากและมีราคาสูงมาก โดยมากตำหนิของเพชรนั้นมักไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า คุณจึงสามารถเลือกเพชรในระดับเกรดที่มีตำหนิอยู่บ้าง เพื่อช่วยประหยัดงบลงได้

Clarity (ความบริสุทธิ์)
เพชรส่วนมากจะมีริ้วรอยตำหนิเล็กน้อย จึงเปรียบเสมือนลายนิ้วมือธรรมชาติสรรสร้างเอกลักษณ์ของเพชรแต่ละเม็ด กระนั้นก็มิได้ทำให้เพชรด้อยความงาม หรือลดความแข็งแกร่งลงแต่อย่างใด แต่ทว่ายิ่งมีริ้วรอยน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งจะทำให้แสงผ่านมากขึ้น ทำให้เพชรทอประกายเจิดจ้าระยิบระยับขึ้น เพชรจึงเหนือกว่าอัญมณีอื่นใดเพราะสามารถทอประกายแสงได้สุกใสงดงามที่สุด วิธีพิจารณาความสะอาดของเนื้อเพชร ต้องใช้กล้องขยาย 10 เท่าและตรวจสอบโดยนักอัญมณีศาสตร์เท่านั้น
GIA
Image
Description
IF (Internally Flawless)
หมายถึงเพชรที่สะอาดที่สุด คือ ไม่มีรอยตำหนิใดๆ
VVS1-VVS2
(Very Very Slightly Inclusions)
หมายถึงเพชรที่มีตำหนิน้อยมากๆ ซึ่งยากมากๆ แก่การมองเห็นภายใต้กล้องขยาย 10 เท่า
VS1-Vs2
(Very Slightly Inclusions)
หมายถึงเพชรที่มีตำหนิน้อย ซึ่งยากแก่การมองเห็นภายใต้กล้องขยาย 10 เท่า
SI1-SI2 (Slightly Inclusion)
หมายถึงเพชรที่มีตำหนิ ซึ่งจะเห็นตำหนิได้ง่ายภายใต้กล้องขยาย 10 เท่า และอาจเห็นได้ด้วยตาเปล่าในบางเม็ด


น้ำหนักกะรัต (Carat)
คนมักเข้าใจว่า กะรัตหมายถึงขนาดของเพชร แท้จริงแล้วกะรัตเป็นหน่วยวัดน้ำหนักเพชรโดย 1 กะรัตมีค่าเท่ากับ 200 มิลลิกรัม และเทียบเท่า 100 สตางค์ เพชรที่มีขนาดใหญ่จะพบได้ยากและมีราคาแพง อย่างไรก็ดีมูลค่าของเพชรไม่ได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักเพียงอย่างเดียวแต่ต้องดูองค์ประกอบอื่น ๆ ที่กล่าวมาด้วย

Carat (กะรัต)
 
น้ำหนักของเพชรจะวัดเป็นกะรัต หนึ่งกะรัตแบ่งออกเป็น 100 สตางค์ดังนั้นเพชรขนาด 0.75 กะรัตจึงมีน้ำหนักเท่ากับ 75 สตางค์ ขนาดกะรัตเป็นตัวตัดสินมูลค่าของเพชรที่เด่นชัดที่สุด แต่สิ่งที่ควรระลึกไว้เสมอก็คือเพชรสองเม็ดที่มีขนาดกะรัตเท่ากันอาจมีมูลค่าแตกต่างกันอย่างมากก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเจียระไน สีและความสะอาด


0.50ct
5.2mm
0.75ct
5.8mm
1.00ct
6.5mm

1.50ct
7.4mm

2.00ct


4. รูปแบบตัวเรือน
ในการเลือกดีไซน์ของตัวเรือนนั้น ควรเลือกที่ความพอใจของคุณเองและลองดูว่าวัสดุใดที่เข้ากับผิวของคุณมากที่สุด วัสดุที่แนะนำสำหรับการทำตัวเรือน ได้แก่ ทองคำ ทองคำขาว และแพลตินั่ม ซึ่งอันที่จริงวัสดุที่ใช้ในการทำตัวเรือนนั้นมีผลต่อการเลือกเพชรของคุณด้วยเช่นกันถ้าคุณเลือกตัวเรือนเป็นทองคำ คุณอาจไม่ต้องเลือกเพชรน้ำดีมากเพราะอย่างไรก็ตาม เงาสะท้อนของสีทองจะตกกระทบที่เพชร ทำให้เพชรดูไม่ขาวอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ควรใส่ใจในความประณีตของการทำตัวเรือนด้วยเพื่อให้ได้แหวนวงพิเศษที่สมบูรณ์แบบที่สุด

Tips
  •  ในการเลือกเพชรนั้น ควรมองหาทางเลือกที่หลากหลายด้วยการขอให้ร้านนำเพชรออกมาทุกแบบ ทุกรูปทรง เพื่อคุณจะได้ทำการเลือกซื้ออย่างพอใจที่สุด
  •  คุณสามารถขอรับใบรับประกันคุณภาพสำหรับเพชรที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 30 สตางค์ขึ้นไปได้จากร้านเพชรของคุณ
  •  ทดลองสวมแหวนเพชรที่มีความบริสุทธิ์ต่างกัน คุณอาจค้นพบว่าความบริสุทธิ์และรอยตำหนินั้น ไม่มีผลต่อประกายความงดงามของเพชรเลยในสายตาของคุณ วิธีนี้จะช่วยให้คุณประหยัดได้ด้วย