ในการจัดงานแต่งงานมีหลายอย่างที่สำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ก็คือ รูปแบบการจัดเลี้ยงที่จะต้องคิดว่าจะทำอย่างไร ให้ แขกที่มาร่วมงานประทับใจ ไม่มีวันลืม ซึ่งมีหลายรูปแบบให้เลือกแต่จะเป็นรูปแบบไหนที่ตรงใจถูกใจคุณลองมาดูกันค่ะ กับ 3 รูปแบบการจัดเลี้ยงหลัก ๆ ที่คุณควรรู้
ค็อกเทล (Cocktail)
เป็นรูปแบบการจัดเลี้ยงที่นิยมจัดในงานเลี้ยงแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ
มีการจัดทั้งในอาคารและ ในพื้นที่กลางแจ้ง รวมทั้ง ริมสระน้ำ
มีลักษณะไม่เป็นพิธีการมากนัก “ค็อกเทล”เป็นเครื่องดื่มผสมตั้งแต่ 2
อย่างขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นเหล้า ผสมที่ให้บริการที่บาร์
งานเลี้ยงแบบค็อกเทลจึงเน้น บริการเครื่องดื่มทั้งแบบมีแอลกอฮอล์ (Hard Drink) และไม่มีแอลกอฮอล์
(Soft Drink) โดยจะจัดบริการอาหารประเภทอาหารว่างอาหารทานเล่น
รวมถึงอาหารเรียกน้ำย่อยไว้ให้แขกร่วมงานเดินเลือกหยิบรับประทานตามชอบ
เหมาะสำหรับการจัดเลี้ยงแขกจำนวนมาก
ในงานเลี้ยงจะไม่มีโต๊ะอาหารจัดให้แขกนั่งรับประทาน
มีเพียงโต๊ะวางอาหารตั้งไว้เป็นส่วนกลาง อยู่มุมต่างๆ และบริเวณ
ส่วนกลางของงาน เปิดโอกาสให้แขกร่วมงานเดินไป
มารอบงานเพื่อทักทาย เจ้าภาพและพบปะ สังสรรค์กับผู้ร่วมงานอื่นๆ
ระหว่างงานเลี้ยงพนักงานจะเดินถือถาดเสิร์ฟเฉพาะเครื่องดื่มไปตามบริเวณต่างๆของงาน
ให้แขกได้เลือก และถือแก้ว
เครื่องดื่มไว้ในมืออาหารที่บริการจะจัดวางไว้เรียบร้อยก่อนเริ่มงาน
ปริมาณและความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับเจ้าภาพซึ่ง
เป็นผู้กำหนดส่วนใหญ่
จะเป็นอาหารชิ้นเล็กขนาดพอคำที่หยิบรับประทานได้สะดวก เพื่อแกล้มไปกับเครื่องดื่ม
โดยใช้ไม้จิ้มขึ้นมารับประทาน ในโรงแรมขนาดใหญ่นิยมจัดจานขนาดเล็กไว้ที่โต๊ะวางอาหารเพื่อให้แขกใส่อาหารรับประ ทานภายในงาน
และจัดวางเก้าอี้ไว้ตามมุมต่างๆ ของงาน เพื่อให้นั่งพักได้
อาหารที่บริการมีทั้งคาวหวานแต่จะไม่ใช่ประเภทอาหารมื้อหลัก
ที่ทำให้ผู้รับประทานอิ่มท้อง เหมือนงานเลี้ยง แบบอื่น
แขกร่วมงานจึงสามารถรับประทานอาหารมื้อค่ำหลังจากงานเลิกได้ ปัจจุบันในโรงแรมขนาดใหญ่มีการจัดเพิ่มซุ้มบริการอา หารที่มีผู้ปรุง
และตักใส่ถ้วยหรือจานขนาดเล็ก ให้แขกร่วมงานตามมุมต่างๆ
ของงานและเจ้าภาพยังอาจให้โรงแรมจัดโต๊ะ ว่างจำนวนไม่มากให้แขกสำคัญ
นั่งรับประทานได้ นิยมเริ่มประมาณ
18.00 น. จึงเป็นงานเลี้ยงที่เลิกได้เร็วกว่าแบบอื่น
แขกสามารถอำลาออกจากงานได้ตามความสะดวก การคิดราคาจะคิดเป็นราคาต่อแขก 1 คน
บุฟเฟ่ (Buffet)
เป็นรูปแบบที่นิยมมากในทุกโอกาส
สามารถจัดได้ในที่ต่างๆ ทั้งในอาคารและนอกอาคาร เป็นการเลี้ยง
อาหารที่ไม่เป็นพิธีการมาก โดยเปิดโอกาสให้แขกร่วมงานสามารถเลือกตักอาหารรับประทาน
ได้เองตามความพอใจ การจัดบริการอาหาร จะใช้โต๊ะใหญ่จัดวางอาหารเรียงรายอย่างสวยงาม
บนถาดขนาดใหญ่ตามประเภท และลำดับของอาหาร ตั้งแต่อาหาร เรียกน้ำย่อย
อาหารหลัก อาหารหวานนานาชนิดในปริมาณที่มากกว่างานเลี้ยง แบบค็อกเทลเพราะจัดในเวลา
มื้ออาหารหลักที่แขกสามารถทานได้อิ่มท้อง
ต๊ะบุฟเฟต์ที่วางอาหารนี้อาจวางไว้กลางห้องหรือมุมห้อง หรือกระจายเป็น หลายโต๊ะ
ในงานขนาดใหญ่ที่มีแขกมาก เจ้าภาพจะเตรียมจัดที่นั่งโดยตั้งโต๊ะอาหาร
ในปริมาณเพียงพอสำหรับให้แขก ได้นั่งรับประทานทุกคน
โดยอาจระบุโต๊ะเพื่อให้แขกกลุ่มเดียวกันได้นั่งด้วยกัน บนโต๊ะอาหารทุกที่นั่งอาจจัดวางช้อนส้อม
แก้วน้ำไว้ หรือในบางแห่งอาจเป็นเพียงโต๊ะว่าง และจัดวางภาชนะอุปกรณ์ เช่น จาน
ช้อนส้อม ถ้วยชาม ฯลฯ ไว้ที่โต๊ะบุฟเฟต์ แขกจะเดินเรียงเข้ามาหยิบภาชนะอุปกรณ์
และเลือกตักอาหารใส่จานแล้วนำกลับไปนั่งรับประทานที่โต๊ะ เมื่อทานเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถลุกขึ้นไปตักอาหารประเภทอื่นใส่ภาชนะใหม่ได้อีกตามต้องการ
ขณะที่พนักงานจะคอยเสิร์ฟเครื่องดื่ม
และเก็บจานเก่าที่แขกรับประทานเสร็จออกไปจากโต๊ะ เพื่อให้แขกสามารถ
นำอาหารจานใหม่มานั่งรับประทานต่อไปได้ นอกจากนั้น อาจมีพนักงานคอยบริการช่วยตักแบ่งอาหารบางอย่างให้ ที่โต๊ะบุฟเฟต์
รวมทั้งคอยเติมอาหารที่ พร่องไปในถาดบริการบนโต๊ะบุฟเฟต์
ปริมาณและความหลากหลายของอาหาร ในงานเจ้าภาพจะเป็นผู้กำหนด
โดยผู้จัดบริการอาหารจะคิดราคาเป็นราคาต่อคน และเตรียมจัดอาหารไว้ล่วงหน้าก่อน งานเริ่ม
หรือ ก่อนเริ่มมื้ออาหารนั้นให้เพียงพอกับจำนวนคนที่ได้จองไว้
การจัดบริการแบบบุฟเฟต์เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
เพราะอาหารที่บริการไม่จำเป็นต้องรอให้ครบจึงเสิร์ฟ
ผู้รับประทานสามารถเห็นอาหารทุกอย่างที่จัดวางอย่างสวยงาม หลากหลายและเลือกรับประทานตาม
ความชอบใจอย่างอิสระ เวลาเริ่มงานสำหรับอาหารเย็นประมาณ 18.30 น.
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมในการจัดเลี้ยงสำหรับโอกาสทั่วไป
การบริการอาหารมีลักษณะคล้ายแบบครอบครัว เพราะอาหารทุกอย่างจะยกมาจากครัวโดยปรุงแต่งเรียบร้อย
และจัดใส่จานหรือชาม ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งไม่สามารถส่งต่อ
ให้กันบนโต๊ะได้
จึงต้องวางไว้กลางโต๊ะให้ผู้รับประทานบริการตัวเอง หรือช่วยตักแบ่งกันเองบนโต๊ะ
ดังนั้น จึงใช้โต๊ะกลมเสมอเพื่อให้แขกทุกคนที่นั่งอยู่รอบโต๊ะเอื้อมมือ
ไปตักได้ถึง บรรยากาศงานเลี้ยงแบบโต๊ะจีน
จึงเอื้อต่อการจับกลุ่มชุมนุมสังสรรค์กันที่โต๊ะ พนักงานบริกรเป็นผู้นำอาหารจากครัวมาเสิร์ฟที่โต๊ะ
และมีหน้าที่คอยเก็บ อาหารลำดับจานที่แล้วออกไป
เมื่อแขกรับประทานเรียบร้อย และบริการน้ำดื่ม หากในบรรยากาศที่ค่อนข้างเป็นพิธีการ
อาจมีพนักงาน มาคอยตักแบ่งอาหารให้ทุกคนแทนที่แขกจะลุกขึ้นตักแบ่งกันเอง
รายการอาหารทุกโต๊ะจะเป็นชุดเดียวกันซึ่งกำหนดล่วงหน้าโดยเจ้าภาพงาน
ประมาณ 8 – 12 อย่างต่อชุดและเสิร์ฟ
ทีละอย่างตามลำดับ สำหรับแขกนั่งได้ 8 – 12 คน
แต่นิยม 10 คนต่อโต๊ะ เพื่อให้เอื้อมถึงอาหารได้สะดวก บนโต๊ะ
จะเตรียมจัดวางอุปกรณ์ประจำแต่ละที่นั่ง
ได้แก่ จานเล็ก ถ้วย (ชาม) ใบเล็ก ช้อน ตะเกียบ แก้วน้ำ เป็นต้น
ในภัตตาคารชั้นดีอุปกรณ์จะใช้เครื่องกระเบื้อง เครื่องเงิน เครื่องแก้วคุณภาพดี
มีที่วางพักตะเกียบและช้อนเงินด้ามยาว
ในงานขนาดใหญ่ที่มีแขกมากมายเจ้าภาพอาจระบุโต๊ะไว้เพื่อจัดให้กลุ่มแขกที่รู้จักกันได้นั่งด้วยกัน
ตามปกติ
ปริมาณ และประเภทอาหารที่บริการในโต๊ะจีนจะเตรียมไว้ให้แขกได้อิ่มท้อง
แต่เนื่องจากต้องรับประทานด้วยกัน
จึงต้องรอให้แขกมาครบก่อนจึงจะเริ่มเสิร์ฟพร้อมกัน
ในงานเลี้ยงตามโรงแรมขนาดใหญ่นิยมเสิร์ฟในเวลาอาหารค่ำ ซึ่งจะเริ่มประมาณ 19–
20.00 น. เป็นต้นไป จึงจะจบรายการอาหาร การคิดราคาอาหารจะคิดราคาต่อโต๊ะ